การตรวจวัดความสามารถในการแยกความต่างของความมืด-สว่าง (contrast sensitivity) ใช้ในการประเมินคุณภาพการมองเห็น ซึ่งการกระเจิงของแสงสามารถส่งผลต่อค่า contrast sensitivity ลดลงได้ การใส่เลนส์ตาเทียมอาจช่วยลดการกระเจิงแสง และช่วยให้ contrast sensitivity มากขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่า contrast sensitivity ในตาที่ไม่เป็นโรคกับตาที่เป็นโรคตาส่วนหลัง ในคลินิกตา มหาวิทยาลัย โดยนาข้อมูลจากเวชระเบียนในคลินิกมาวิเคราะห์ ได้แก่ อายุ ค่า contrast sensitivity และโรคตา คัดเฉพาะกลุ่มที่ใส่เลนส์ตาเทียมชนิด aspherical และไม่มีโรคตาส่วนหน้า จากผลการวิเคราะห์ มีข้อมูลกลุ่มที่ไม่เป็นโรคตา จานวน 36 ตา (อายุ 69 ± 8.76 ปี) และผู้ป่วยที่มีโรคตาส่วนหลัง จานวน 26 ตา (อายุ 72 ± 6.93 ปี) จากการเปรียบเทียบค่า contrast sensitivity ระหว่างกลุ่มไม่เป็นโรคตา และกลุ่มที่เป็นโรคตาส่วนหลัง พบว่า ในแต่ละความถี่เชิงพื้นที่ ในสภาวะแสงที่ต่างกัน พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่า contrast sensitivity ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่า contrast sensitivity แยกโรคตาส่วนหลังกับกลุ่มไม่มีโรคตา ได้แก่ โรคต้อหิน โรคจุดภาพชัดเสื่อมชนิด dry AMD โรค epiretinal membrane และโรคเบาหวานขึ้นจอตาชนิด non-proliferative diabetic retinopathy ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย ค่า contrast sensitivity ระหว่างกลุ่มไม่มีโรคตา และกลุ่มที่มีโรคตาส่วนหลัง ในขณะที่ใส่เลนส์ตาเทียมชนิด aspherical IOL ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยอายุระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
Contrast sensitivity is used to assess the quality of vision. Light scattering can reduce contrast sensitivity. Intraocular lens implantation may reduce light scattering and improve contrast sensitivity. This study aimed to compare contrast sensitivity in pseudophakic eye between patients without ocular disease and patients with posterior eye disease in an eye clinic at university. Data from clinical medical records were analyzed, including age, contrast sensitivity, and eye disease, selecting only those with aspherical intraocular lenses and without anterior segment eye disease. In total, 62 eyes of 62 subjects were included in this study, 36 eyes in non-ocular disease group (age 69 ± 8.76 years) and 26 eyes in posterior eye disease group (age 72 ± 6.93 years). The contrast sensitivity of both groups was not significantly different. Comparison of contrast sensitivity in various posterior eye disease group, included glaucoma, dry AMD, epiretinal membrane, and non-proliferative diabetic retinopathy. There were no statistically significant differences. Conclusion: Contrast sensitivity among groups without eye disease and groups with posterior eye disease There were no statistically significant differences when wearing aspherical IOL intraocular lenses. There was no difference in age between the two groups.