การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับโอเวอร์ไนท์มาร์คที่มีระบบผลึกเหลวอยู่ในตำรับและใช้วัตถุดิบที่ได้จากไผ่แปรรูปนั่นคือผงถ่านไม้ไผ่มาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ โดยผงถ่านไม้ไผ่ที่ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับโอเวอร์ไนท์มาร์คนั้นเตรียมได้จากลำต้นของไผ่ดิบจากการคาร์บอไนเซชันที่อุณหภูมิ 600 °ซ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมและได้ค่าร้อยละผลผลิตอยู่ที่ 21.61 จากนั้นถ่านไม้ไผ่นำไปบดและผ่านตะแกรงเมทขนาด 60 และ 80 ตามลำดับ จะได้มาเป็นผงถ่านไม้ไผ่จากนั้นนำไปศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพพบว่ามีค่าพื้นที่ผิวและปริมาตรรูพรุนมีค่าเท่ากับ 389.26 ± 2.81 m2/g และมีปริมาตารรูพรุน 0.170119 ± 0.000576 cm3/g โดยมีค่าที่มากกว่าการคาร์บอไนเซชันที่อุณหภูมิ 1,000 °ซ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value ˂ 0.05) ซึ่งหมายความว่าผงถ่านไม้ไผ่ที่ผ่านอุณหภูมิคาร์บอไนเซชันที่ 600 °ซ นี้มีรูพรุนและพื้นที่ผิวในการดูดซับได้ดีกว่าที่อุณหภูมิ 1,000 °ซ นอกจากนี้คุณสมบัติอื่น ๆ ของถ่านที่ผ่านการคาร์บอไนเซชันที่อุณหภูมิ 600 °ซ นั้นมีขนาดรูพรุนเท่ากับ 17.48 ± 0.19 A° และมีขนาดอนุภาคอยู่ที่ 56.10 ± 1.98 ไมโครเมตร นอกจากนี้มีค่าความชื้นอยู่ที่ 4.28 ± 0.29 % และสภาพการนำไฟฟ้า 20.68 ± 4.21 µS/cm รวมถึงมีปริมาณเถ้ารวม 13.10 ± 0.04 % นอกจากนี้จากการศึกษา FTIR spectrum ของผงถ่านไม้ไผ่ทั้งพบว่ามีหมู่ฟังก์ชัน OH และ หมู่ C-O-C ของเซลลูโลสและลิกนิน รวมทั้งมีหมู่ C=O ของควิโนน และจากการศึกษาแผนภาพ XRD ของผงถ่าน พบว่าเกิดคาร์บอนอสัณฐาน หลังจากนั้นจึงทำการพัฒนาตำรับโอเวอร์ไนท์มาร์คที่มีส่วนผสมของถ่านไม้ไผ่และผลึกเหลว พบว่าในตำรับครีมพื้น LCCB04-LCCB07 ซึ่งเป็นตำรับที่ใช้อิมัลซิไฟเออร์คือ Montanov 202 สามารถเกิดระบบผลึกเหลวในตำรับครีมพื้นได้ดีกว่าตำรับที่ใช้ Olivem 1000 เป็นอิมัลซิไฟเออร์ และมีการเปลี่ยนของลักษณะทางเคมีและกายภาพน้อยกว่ามีความคงตัวและมีการเกิดระบบผลึกเหลวในตำรับหนาแน่นและชัดเจน จึงเลือกตำรับ LCCB04-LCCB07 มาพัฒนาต่อโดยการใส่ผงถ่านไม้ไผ่และสารสำคัญอื่น ๆ ลงไปและพบว่าค่าพีเอชและค่าความหนืดทั้ง 4 ตำรับ (LCC04-LCC07) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value ˂ 0.05) เมื่อเทียบกับตำรับครีมพื้นที่มีผลึกเหลวของแต่ละสูตร และเมื่อนำไปทดสอบความคงตัวพบว่าตำรับ LCC04 มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด และยังคงเกิดระบบผลึกเหลวในตำรับมากและมีความหนาแน่นของผลึกเหลวมากที่สุดเมื่อเทียบกับตำรับอื่น ๆ โดยอุณหภูมิสูงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าพีเอชและความหนืดมากที่สุดในทุกตำรับ จากนั้นจึงนำตำรับ LCC04 มาทดสอบความชุ่มชื้นบนหนังหมูแรกเกิดโดยใช้ corneometer โดยเปรียบเทียบค่าร้อยละความชุ่มชื้นเทียบกับตำรับครีมพื้น น้ำกลั่น และผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดพบว่าตำรับ LCC04 นั้นมีค่าร้อยละความชุ่มชื้นมากที่สุดและมากกว่าตำรับอื่น ๆ ในทุกช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value ˂ 0.05) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการมีอยู่ของผลึกเหลวในตำรับนั้นช่วยทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นต่อเนื่องยาวนานถึง 6 ชั่วโมง และทำให้ตำรับมีความคงตัวมากขึ้น ดังนั้นตำรับโอเวอร์ไนท์มาร์คที่มีส่วนผสมของผงถ่านไม้ไผ่และผลึกเหลวนั้นสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้และยังสามารถเพิ่มการใช้งานในการแปรรูปไผ่ดิบเป็นผงถ่านไม้ไผ่และเพิ่มมูลค่าให้กับการต้นไผ่ได้อีกด้วย
The goal of this study is to develop an overnight mask formulation with liquid crystal base and using bamboo charcoal powder for active ingredient. Bamboo charcoal powder was prepared from a portion of raw bamboo stems. The suitable temperature for carbonization of raw bamboo stems was at 600°C and obtained percent yield of bamboo charcoal was 21.61%. After that, they were ground and sieved through 60 and 80 mesh, respectively. To obtained bamboo charcoal powder, its physicochemical properties were investigated. The results found that the surface area and pore volume were 389.26 ± 2.81 m2/g and 0.170119 ± 0.000576 cm3/g, respectively, which were a significantly different from bamboo charcoal powder carbonized at 1000°C. Furthermore, the adsorption average pore diameter, particle size, moisture content, conductivity and total ash were found to be 17.48 ± 0.19 A°, 56.10 ± 1.98 µm, 4.28 ± 0.29 %, 20.68 ± 4.21 µS/cm and 13.10 ± 0.04 %, respectively. The FTIR spectrum of bamboo charcoal revealed the presence of hydroxyl groups (OH) and C-O-C groups of cellulose and lignin, respectively. In addition, quinone groups (C=O) were found in the bamboo charcoal powder. The XRD pattern results showed that bamboo charcoal powder was amorphous carbon. Then the development of liquid crystal emulsion base, the formulation No. LCCB04-LCCB07, which used emulsifier by Montanov 202 showed that good physicochemical properties, good stable in formulation more than other formulation used Olivem 100 as emulsifier. Especially, the presence of liquid crystals had a shape clearly and numerous liquid crystals. Therefore, active ingredients and bamboo charcoal powder were added to LCCB04-LCCB07 formulations. The results showed that pH values and viscosity of all formulations (LCC04-LCC07) increased and there was a significant difference (p-value ˂ 0.05) compared to the liquid crystal cream base (LCCB04-LCCB07). After the stability test, the results showed that all formulations except LCC04 had changed. For the LCC04 formulations, the pH and viscosity changed slightly, and the shape of the liquid crystals was still clearly visible and numerous. Then, the moisture content (%) of LCC04 in the newborn pig skin was measured with a corneometer and compared with the cream base, distilled water, and a commercial product. The results showed that the moisture content of LCC04 was the highest compared to the other formulations at all time points and there was a significant difference (p-value ˂ 0.05). In conclusion, the presence of liquid crystals in the formulation can maintain moisture in the skin for up to 6 hours and increase the stability of the formulation. Thus, the overnight mask formulation with bamboo charcoal powder and liquid crystals can be a cosmetic product that increases the moisturizing effect. In addition, the processing of raw bamboo adds value to the bamboo.