งานวิจัยนี้ ภายใต้ชื่อเรื่อง “ความเสี่ยงและความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ” มีจุดมุ่งหมายในการค้นหาผลกระทบของอัตราการเปิดการค้าระหว่างประเทศต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม อัตราการเปิดการค้าระหว่างประเทศคือสัดส่วนระหว่างผลรวมของมูลค่าส่งออกและนาเข้า ต่อมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวม ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะทดสอบว่าการขยายตัวของอัตราการเปิดประเทศ มีผลกระทบเป็นเชิงบวกหรือหรือเชิงลบหรือไม่มีผลใดๆ ต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ข้อมูลทางสถิติแสดงให้เห็นว่า ประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออก มีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ค่อนข้างสูง อันเป็นผลจากการขยายอัตราการเปิดการค้าระหว่างประเทศ ในช่วงทศวัตรที่ 1990 อย่างไรก็ดี ในช่วงทศวัตรที่ 2000 จนถึงปัจจุบัน ประเทศเหล่านี้ได้ประสบปัญหาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทั้งๆที่การขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศยังคงดาเนินไปอย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูลเชิงประจักษ์ดังกล่าว ทาให้ผู้วิจัยคาดการณ์ในเบื้องต้นว่าอัตราการเปิดประเทศน่าจะมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้น โดยเฉพาะคือ ได้ตั้งสมมติฐานว่า อัตราการเปิดประเทศจะมีผลเชิงบวกต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในช่วงแรกของการเปิดประเทศ ทั้งนี้ ประโยชน์จากการเปิดการค้าระหว่างประเทศที่เป็นปัจจัยกระตุ้นอัตราการเจริญเติบโตคือความเชี่ยวชาญในการผลิตและการโอนทางเทคโนโลยี อย่างไรก็ดี หากการเปิดประเทศยังขยายตัวต่อไปโดยไม่มีกาหนด ผลของการเปิดประเทศต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะกลับเป็นเชิงลบ ด้วยเหตุผลที่อธิบายได้ด้วยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคซึ่งกล่าวว่า ผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตจะลดลง เมื่อปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น
ในการทดสอบสมมติฐานที่ว่าผลของอัตราการเปิดประเทศต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมมีลักษณะไม่เป็นเชิงเส้น ผู้วิจัยได้ใช้แบบจาลอง Auto-regressive Distributed Lags (ARDL) เพื่อประมาณการสมการดุลยภาพระยะยาวและการปรับตัวระยะสั้น โดยมีตัวแปรมหภาคที่เกี่ยวข้องในการกาหนดดุลยภาพได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม การลงทุนของภาคเอกชน สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง และอัตราการเปิดการค้าระหว่างประเทศ ในการนี้ ผู้วิจัยได้เลือกประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้มาจากฐานข้อมูลของธนาคารโลก ซึ่งเป็นข้อมูลรายปี ครอบคลุมช่วงเวลาปี 1960 2019
ผลจากการประมาณการได้แสดงผลเป็นการสนับสนุนสมมติฐานของการวิจัย กล่าวคือ อัตราการเปิดประเทศเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมให้เพิ่มสูงขึ้นในระยะแรกเริ่มของการเปิดประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่ออัตราการเปิดประเทศขยายตัวผ่านจุดหนึ่งไป อัตราการเปิดประเทศจะกลับกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม นั่นคืออัตราการเจริญเติบโตจะลดลงในขณะที่อัตราการเปิดประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนี้สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลดังนี้ ในระยะแรกของการเปิดประเทศ การค้าระหว่างประเทศจะช่วยให้มีการขยายกาลังการผลิต และมีการถ่ายโอนเทคโนยี ช่วยให้เกิดความขานาญในการผลิต และทาให้ผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่ออัตราการเปิดประเทศขยายต่อไปโดยไม่มีกาหนด ถึงจุดหนึ่งกาลังการผลิตก็จะขยายตัวเกินศักยภาพ ซึ่งจะยังผลให้ผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตลดลง และจะทาให้อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ซึ่งเป็นไปตามข้อกล่าวอ้างของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค
นอกจากนั้น ผลจากการประมาณการผลกระทบที่ไม่เป็นเชิงเส้นของอัตราการเปิดประเทศต่ออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ยังทาให้เราสามารถคานวณอัตราการเปิดประเทศที่เหมาะสมที่จะทาให้เราได้รับอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด ซึ่งจากการคานวณดังกล่าว จะได้อัตราการเปิดประเทศที่เหมาะสมอยู่ที่ 91.57% ซึ่งจะทาให้เราได้รับอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 9.74%
ในส่วนที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจ จากการประมาณการสมการการปรับตัวระยะสั้นพบว่า ระบบสามารถปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวได้ ในอัตราร้อยละ 59 ของขนาดของการเบี่ยงเบนในงวดถัดไป โดยการปรับตัวจะเป็นแบบแกว่งตัว (Oscillation)
ผลของงานวิจัยนี้สามารถนาไปใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้ดังนี้ ผู้กาหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจาเป็นจะต้องคานวณระดับของอัตราการเปิดประเทศที่เหมาะสม ที่จะทาให้ประเทศได้มีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในระดับสูงสุด และหากปล่อยให้ประเทศมีอัตราการเปิดประเทศเกินระดับที่เหมาะสมที่คานวณได้เกิดขึ้น ผลที่จะได้รับคืออัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมจะชะลอตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งอาจกลายเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่ติดลบได้
นอกจากนั้นยังมีคาแนะนาเพิ่มเติมคือ หากผู้กาหนดนโยบายต้องการหลีกเลี่ยงการชะลอตัวของอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม จาเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศจะต้องเปลี่ยนกระบวนการผลิตเป็นแบบเน้นเทคโนโลยี หรือเปลี่ยนโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจเป็นลักษณะที่นาด้วยธุรกิจภาคบริการ ตามแบบของสิงคโปร์และฮ่องกงเป็นตัวอย่าง ที่เขาสามารถคงไว้ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ยอมรับได้ ภายใต้สภาวะการเปิดประเทศในระดับที่สูงมาก
This research, entitled “Risk and Sustainability of Trade Dependent Economy, is aimed at examining the impact of the degree of trade openness (TO) on the GDP growth. The degree of trade openness is defined as the ratio of export plus import to GDP. The researcher attempts to find whether the impact of trade openness on GDP growth is positive or negative, or none at all. The statistical evidence showed that, for many Eastern Asian countries, the trade openness had contributed to high GDP growth rate during the 1990 decade. However, from the years 2000’s onward, these countries had experienced the slowdown in GDP growth, despite the continuing expansion of international trade.
Based on such evidence, the researcher conjectures that the trade openness might have an impact on GDP growth in nonlinear manner. In particular, it is hypothesized in this research that, the trade openness will stimulate GDP growth of the country at the beginning periods due to the specialization in production and technology transfer facilitated by trade. But as the trade openness continues to expand, the point will be reached, beyond which the trade openness will result in the slowdown of GDP growth rate. This can be explained by microeconomic theory which explains that the marginal return of input will be diminishing as the scale of production expands beyond a certain optimal point.
To test the hypothesis of nonlinear impact of trade openness on GDP growth, the researcher employs the Auto-Regressive Distributed Lags (ARDL) model to construct the long–run equilibrium relationship and short-run adjustment among macro-variables involved, namely, GDP Growth, Investment, Bank Credit, Broad Money, and Trade Openness. The researcher selects Thailand as a case study. The annual data for the estimation of the ARDL model were collected mostly from World Bank’s database, covering the period 1970-2019.
The estimation results come out in support of the hypothesis, that is, the trade openness contributes positively to GDP growth at the beginning of trade openness. However, at a certain point in time, the GDP growth starts to decline, despite the continuing trade expansion. This phenomenon can be explained as follow. At the beginning of trade, the country can benefit extensively from technology transfer and specialization brought along with trade. But later on, as trade continues to expand without limit, the point will be reached when the return from resource utilization will decline as the limited resource input is stretched beyond its capacity. This will result in the overall GDP to grow at a declining rate. This result is in line with microeconomic principle of diminishing return of input in the production process.
The estimation of nonlinear impact of trade openness on GDP growth also enables us to compute the optimal degree of openness in which the maximum GDP growth for the economy can attain. Our calculation results show that the optimal degree of openness is 91.57%, and the associated maximum GDP growth is 9.74%.
In term of the sustainability of the economic system, the result from the estimation of short-run Error Correction equation indicates that the system is able to adjust, with oscillation, back to its long-run equilibrium at the rate of 59% of the size of disequilibrium in subsequent periods.
The results from this research provide policy implication as follow. It is recommended that it is necessary for the policy maker to study to find the optimal level of trade openness that will yield the maximum output growth rate. If the trade openness is expanded beyond this optimal level, then the growth rate will go down unavoidably and might even turn to negative growth at some point.
It is further recommended that, to avoid growth rate slowdown, the country must change its production process into technology-intensive or transform its economic structure into service-oriented economy. Singapore and Hong Kong are good examples of service-oriented economy in that they can maintain reasonable growth rate despite having very high degree of trade openness.