การศึกษาเรื่องกัญชาเสรีกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการรณรงค์เรียกร้องเพื่อปลดล็อคกัญชาเสรี เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ พัฒนาการการใช้กัญชาในประเทศไทยในการรักษาโรค และเพื่อศึกษาจุดคานงัดและจุดเปลี่ยนในการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเพื่อแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพื่อให้กัญชาสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้ จากการศึกษาพบว่า ในวิถีชีวิตไทยเรื่องของกัญชามีให้เห็นมายาวนาน และความนิยมของกัญชาในอดีตยังปรากฏหลักฐานอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังอีกด้วย ขณะที่ในงานวรรณกรรมนั้น กัญชามีปรากฏในงานให้เห็นกันมากมายเช่นกัน อาทิ เรื่องระเด่นรันได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) ที่แต่งขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 และในเรื่องขุนช้างขุนแผนก็กล่าวถึงการสูบกัญชาหลายจุด ดังตัวอย่างตอนหนึ่งคือเมื่อขุนแผนอาสายกทัพไปรบเชียงใหม่  ขณะเดียวกันกัญชาก็มีปรากฏในตำรับยาไทยหลายขนานรวมถึงตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นต้น นับแต่ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ประกาศให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 นั้น ภูมิปัญญาในการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ของไทยก็ได้ขาดตอนลง หมดความสืบเนื่อง หมดพัฒนาการไป ในทางกลับกันชาติตะวันตกอย่างหลายรัฐในอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศกลับอนุญาตให้มีการปลูกและใช้กัญชาเป็นทั้งยาทั้งอาหารเพื่อสันทนาการอย่างถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตามแม้จะมีกระแสและภาคปฏิบัติการการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเพื่อคัดค้านต่อต้านกฎหมายดังกล่าวเป็นระยะก็ตามแต่ก็ไม่บรรลุผลใดๆ จนกระทั่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่ถือว่าเป็นจุดคานงัดที่ทำให้กัญชาเสรีได้รับการตอบรับจากสังคมและเกิดการถกแถลงในระดับนโยบายอย่างเข้มข้นกว้างขวาง เริ่มต้นจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และงานวิจัยของมหาวิทยาลัยรังสิตพบสารสำคัญในกัญชาที่ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ จนเกิดปฏิกิริยาตอบรับในวงกว้างของสังคมและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผ่อนปรนในระดับนโยบาย จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวทำให้เกิดการตื่นตัวและการตอบรับในเรื่องกัญชาทั้งหมดดังที่กล่าวมา ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงถือเป็นความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายตามมา ทั้งนี้การเคลื่อนไหวรณรงค์เรียกร้องของภาคประชาชนมีทั้งภาคปฏิบัติการณ์ผ่านการจัดกิจกรรมเรียกร้องของกลุ่มองค์กรต่างๆ อย่างกว้างขวางและการต่อสู้ในภาควาทกรรมทั้งนี้ชุดวาทกรรมที่ภาคประชาสังคมใช้ ก็คือ “กัญชาคือยารักษาโรค” หรือ วาทกรรม “กัญชาคือยาวิเศษ” จึงถือว่า ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรื่องกัญชาเสรีเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ประสบความสำเร็จแม้ยังไม่สามารถปลดล็อคกัญชาเสรีได้สมบูรณ์แบบก็ตาม แต่ก็ทำให้มีการผ่อนปรนทางนโยบายกฎหมายและข้อห้ามค่อนข้างมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
 
This study is on legalization of marijuana and social movements in Thailand, the objectives of which are to study the people's movement in campaigning to unlock marijuana, to study history development of cannabis use in Thailand for medicinal purposes and to study the lever point and the turning point in the people's movement to resolve the Narcotics Act, 1979 in order to allow marijuana to be used as a medicinal drug. The study found that in the Thai way of life, the story of marijuana has been seen for a long time and the popularity of cannabis in the past was also evident in the murals. Also, in Thai literature marijuana appears in many works such as Raden Randai of Phra Maha Montri (Sap) which was composed during the reign of King Rama III. One example is seen when Khun Phaen volunteered to fight against Chiang Mai. At the same time, marijuana appears in many Thai drug recipes including the textbooks on medicine, relief, etc. Since the Narcotics Act of 1979 declared marijuana as a category 5 addictive drug, the wisdom in the use of cannabis for medical use in Thailand has disappeared, i.e., no continuity out of development from then. On the other hand, Western nations such as many states in America, Australia and many other countries have legalized the cultivation and use of cannabis as a whole food and recreational drug. However, despite the current and active movement of the people's sector to oppose the law from time to time, it has not achieved any concrete result until an important turning point that is considered a lever that allows liberalization of marijuana to be accepted by society that causes widespread political discussions, beginning with the product launch and research from Rangsit University found important substances in cannabis that can inhibit cancer cells. Until a wide reaction of society and leading to lenient changes in the policy level, from then it started an awareness and response to all of the aforementioned cannabis. This phenomenon is considered the success of the social movement that has resulted in policy changes. In this regard, the people's sector's campaigning movement has both practical activities through the activities of various groups of organizations. The discourse by civil society is "cannabis as medicine" or "marijuana as a magic drug". Therefore, the social movement on liberal cannabis is considered a movement that has experienced success, even if you cannot completely unlock marijuana, but it has resulted in unprecedented relief in policy, laws and prohibitions.