การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลังสุขภาพจิต ความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2-4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพลังสุขภาพจิต และแบบประเมินความเครียดสวนปรุงของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย, T-test, ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษา พบว่าโดยรวมพลังสุขภาพจิตมีคะแนนเฉลี่ยในระดับปกติ (M=63.84, S.D.=7.39) ความเครียดมีคะแนนเฉลี่ยสูง (M=47.55, S.D.=15.46) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และลักษณะครอบครัวที่ต่างกัน มีพลังสุขภาพจิตและความเครียดไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับชั้นปีที่ศึกษา บรรยากาศในครอบครัว และสถานะทางการเงินที่ต่างกัน ทำให้มีพลังสุขภาพจิตและความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) พลังสุขภาพจิตโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01)
The aim of this research was to examine the Resilience Quotient (RQ), levels of stress, and correlation between RQ and levels of stress among nursing students. A sample of 272 (year 2-4) nursing students who had been currently studying in Bachelor of nursing science program at the School of Nursing, Rangsit University was recruited for this study. The data were collected by using questionnaires including the general information sheet, Thai RQ screening Test, and Suanprung Stress Test-20 (SPST-20) developed by The Department of Mental health, Ministry of Public Health. The data were analyzed by using descriptive statistics, T-test, ANOVA, and Pearson’s correlation. The findings showed that the overage scores of RQ were at a normal level (M=63.84, S.D.=7.39) but the average score of stress level was high (M=4 7 .5 5 , S.D.=1 5 .4 6 ). It was found, the class of study, family climate, and various financial status had different level of RQ and stress with statistical significance (P< .05). The findings of this study also found that incomes and RQ had a negative correlation with stress levels (P< .01).