พืชในตระกูลส้มมีคุณสมบัติทางชีวภาพหลากหลาย รวมถึงฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของน้ำมันหอมระเหยสกัดจากพืชตระกูลส้ม 3 ชนิด ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะนาว และมะกรูด โดยศึกษาทั้งแบบการออกฤทธิ์เดี่ยวและเสริมฤทธิ์กับยา gentamicin ต่อเชื้อแบคทีเรีย methicillin-resistant S. aureus (MRSA) และ methicillin-susceptible S. aureus (MSSA) จากการวิเคราะห์ด้วยวิธี Gas chromatography-mass spectrometry พบองค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหยสกัดจากส้มเขียวหวาน มะนาว และมะกรูด มีจำนวน 12, 25 และ 27 ชนิด โดยสารที่เป็นองค์ประกอบหลัก คือ limonene ซึ่งพบร้อยละ 72.5, 62.9 และ 25.3 ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้พบว่า น้ำมันหอมระเหยสกัดจากพืชตระกูลส้มทั้งสามชนิด สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทดสอบได้ดี โดยมีค่า MIC เท่ากับ 1.0-32.0 mg/mL และ 1.0-32.0 mg/mL ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า น้ำมันหอมระเหยสกัดจากส้มเขียวหวาน และ limonene มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแบบเสริมฤทธิ์กับยา gentamicin ต่อเชื้อแบคทีเรีย MRSA และ MSSA (FIC index 0.012-0.375) แต่น้ำมันหอมระเหยสกัดจากมะนาว และมะกรูดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแบบเสริมฤทธิ์กับยา gentamicin ต่อเชื้อแบคทีเรีย MRSA เท่านั้น (FIC index 0.012-0.016) ผลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาน้ำมันหอมระเหยสกัดจากพืชตระกูลส้มมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาโดยเฉพาะ MRSA ได้ต่อไป
The plants in Citrus spp. contain several biological properties including antibacterial activity. This study aimed to determine the chemical compositions and antibacterial activities of Citrus essential oils extracted from the fruit peels of 3 Citrus spp.; C. reticulata (CREO), C. aurantifolia (CAEO) and C. hystrix (CHEO); alone and in combination with gentamicin, against clinical isolates of methicillin-resistant S. aureus (MRSA) and methicillin-susceptible S. aureus (MSSA). Gas chromatography-mass spectrometry analysis revealed 12, 25, and 27 compounds were identified with the most predominant component of limonene: 72.5%, 62.9%, and 25.3%, respectively. Citrus essential oils exhibited inhibitory effects toward clinical isolates (MIC 1.0-32.0 mg/mL). The synergistic interaction of gentamicin was found with CREO on the MRSA and MSSA isolates (FIC indexes 0.012–0.375), but that interaction of gentamicin with CAEO and CHEO were found only on MRSA (FIC index 0.012–0.016). This study provides preliminary data on further usage of the Citrus essential oils as antibacterial products against resistant bacteria, especially MRSA.