ประกาศให้ทุน

ระเบียบ ประกาศ และข้อปฏิบัติ / ประกาศให้ทุน


สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
 

นโยบายการจัดสรรงบประมาณวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2565

ประกาศให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปีการศึกษา 2565

เพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยของมหาวิทยาลัยรังสิต

 

เพื่อให้แนวทางนโยบายการจัดสรร ทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะสนับสนุนอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ให้ทำงานวิจัยร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยของมหาวิทยาลัยรังสิตในภาพรวม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทาง ยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยรังสิตในระยะใหม่ที่เน้นสร้างสรรค์พัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิตให้ก้าวสู่การเป็น "Student-based Research University" และให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสังคมธรรมาธิปไตย และนโยบายด้านการศึกษาคือนวัตกรรมที่ประชุมตัวแทนที่เป็นทางการของสายงานคณะวิชา/วิทยาลัยและสายงานสถาบันวิจัยวิจัย เครือข่ายสถาบันวิจัย มีมติให้จัดสรรและจำแนกประเภททุนสนับสนุนการวิจัย ในกรอบงบประมาณอันจำกัด ที่ได้รับการจัดสรรในปีการศึกษา 2565 จำนวน 5,800,000 บาท ดังนี้

           1. ทุนวิจัยความรู้พื้นฐาน  

               (Basic Knowledge Research Fund) 

               (1,450,000 บาท)

            2. ทุนวิจัยและพัฒนา 

                (Research and Development Fund) 

                (1,450,000 บาท)

            3. ทุนวิจัยประยุกต์ 

               (Applied Research Fund) 

               (1,450,000 บาท)

            4. ชุดโครงการวิจัย

                (Research Program)

                (1,450,000 บาท)

****************************************************************

ประเภทงานวิจัยที่ขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย

1. ทุนวิจัยความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge Research Fund)
    ลักษณะโครงการที่สนับสนุน คือ

   1.1 ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นศาสตร์พื้นฐานต่อการพัฒนา เพื่อเสริมงานวิจัยประยุกต์ และงานวิจัยและพัฒนา เช่น โครงการวิจัยด้านภาษา ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ

   1.2 ทุนวิจัยและแปลผลงานทางวิชาการผลงานวิจัยรวมทั้งเอกสารชั้นต้นที่เป็นหลัก ฐานข้อมูลสำคัญ และวรรณกรรมที่มีคุณค่า สมควรจะ ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย หรือผลงานในลักษณะเดียวกันของไทยที่สมควรจะได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาต่าง ประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

2. ทุนวิจัยและพัฒนา (Research and Development Fund)
   ลักษณะโครงการที่สนับสนุน คือ

การวิจัยพหุสาขาวิชา (Multidisciplinary Research) หรือการวิจัยเชิงสหวิทยาการแบบบูรณาการ เช่น การพัฒนาชุมชน การพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาผังเมือง การพัฒนาเทคโนโลยีที่เน้นการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยตรง โจทย์วิจัยให้พัฒนาขึ้นจากการพิจารณาปัญหาเชิงโครงสร้าง และพื้นที่วิจัยสนามซึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยที่การวิจัยและพัฒนาให้ได้ผลจำเป็นต้องวิจัยทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค

3. ทุนวิจัยนวตกรรมสิ่งประดิษฐ์  (Innovation and Invention Fund)  ลักษณะโครงการที่สนับสนุน คือ

    3.1 โครงการประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอาจารย์/เจ้าหน้าที่/นักศึกษาที่มีความสามารถในการ คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ที่ริเริ่มและสร้างสรรค์ ให้ใช้ในการเรียนการสอนหรือวิถีชีวิตประจำวัน การคิดค้นอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือต้นแบบผลิตภัณฑ์ ขึ้นมาใช้ในระบบกายภาพหรือชีวภาพ ชุดสื่อการสอน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะ เช่น สื่อสันทนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง โดยมีแนวทางการพิจารณาดังนี้

1.  เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการคิดริเริ่มขึ้นเองอย่างสร้างสรรค์ และ

2.  เป็นนวัตกรรมเป็นการดัดแปลงจากผลิตภัณฑ์เดิมให้ใช้งานได้ดีขึ้นหรือด้วยราคาถูกลง

3.  เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ ที่หาส่วนประกอบได้ภายในประเทศ และมีความเหมาะสมกว่าการซื้อจากต่างประเทศ กับทั้งยังไม่มีการผลิตขายในประเทศเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์ ที่ผู้ขอรับการสนับสนุนได้ประดิษฐ์ไว้แล้ว และมีศักยภาพที่นำมาพัฒนาต่อ ให้ถึงระดับที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างจริงจัง และมีผลเชิงพาณิชย์เป็นการออกแบบกระบวนการผลิตหรือเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เกิดจากการวิจัยค้นคว้า ซึ่งสามารถผลิต เป็นต้นแบบได้เป็นสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรม ที่มุ่งหมายโดยตรงที่จะนำผลการค้นคว้าวิจัยไปจดทะเบียนสิทธิบัตรให้กับมหาวิทยาลัยรังสิต

4. ทุนวิจัยประยุกต์ ลักษณะโครงการที่สนับสนุน คือ การวิจัยที่มุ่งเสาะแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ความรู้หรือวิทยาการต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติหรือเป็นการวิจัยที่นำผลที่ได้ไปแก้ปัญหาโดยตรง การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นการนำเอาความรู้และวิธีการต่างๆ ที่ได้จากการวิจัยขั้นพื้นฐานมาประยุกต์ใช้อีกต่อหนึ่ง หรือหาวิธีใหม่ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ระบุไว้แน่ชัดล่วงหน้า  การวิจัยประเภทนี้อาจนำผลการวิจัยพื้นฐานมาวิจัยต่อแล้วทดลองใช้ เช่น การวิจัยเกี่ยวกับอาหาร ยารักษาโรค การเกษตร การเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะแยกการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ออกจาก กันได้โดยเด็ดขาด

5. ทุนสนับสนุนชุดโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนา (Applied Research Fund) ลักษณะชุดโครงการที่สนับสนุน คือ

การวิจัยพหุสาขาวิชา (Multidisciplinary Research) หรือการวิจัยเชิงสหวิทยาการแบบบูรณาการ เช่น การพัฒนาชุมชน การพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาผังเมือง การพัฒนาเทคโนโลยีที่เน้นการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยตรง โจทย์วิจัยให้พัฒนาขึ้นจากการพิจารณาปัญหาเชิงโครงสร้าง และพื้นที่วิจัยสนามซึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยที่การวิจัยและพัฒนาให้ได้ผลจำเป็นต้องวิจัยทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค

โครงการวิจัยและพัฒนาลักษณะนี้ เรียกว่า ชุดโครงการ" (Research Program) ประกอบด้วยโครงการย่อย(Projects) ที่มีเป้าหมายรวม (Overall Goals) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ โจทย์การวิจัยและแผนงานวิจัยของแต่ละโครงการย่อยจะต้องทำโดยมีการหารือร่วม ระหว่างโครงการย่อย ภายใต้การนำของหัวหน้าชุดโครงการ เพื่อให้ผลการวิจัยของแต่ละโครงการย่อยสอดคล้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และตอบสนองโจทย์วิจัยของชุดโครงการและเพื่อให้เป็นแนวทางในการกำหนดจุดมุ่งหมายของโครงการวิจัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและเหมาะสมกับภารกิจของมหาวิทยาลัยรังสิต และตรงกับสภาพปัญหาของท้องถิ่นและประเทศ จึงทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การวิจัยรวมทั้งประเด็นการวิจัยดังนี้

กลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ พ.ศ.2560-2564

1. การเกษตรและอุตสาหกรรมฐานชีวาภาพ (Bio-Based)

2. ระบบโลจิสติกส์

3. เศรษฐกิจดิจิทัล

4. อุตสาหกรรมเป้าหมาย 

5. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน

6. สังคมผู้สูงอายุ

7. การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ

8. การท่องเที่ยว

9. การเป็นประชาคมอาเซียน

10. ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล

11. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

12. ยาเสพติด

กลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยและสอดคล้องนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2555-2559) ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์

1. เร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสนองตอบต่อประเด็นเร่งด่วนและมุ่งเน้นตามยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาประเทศ และภารกิจของหน่วยงาน โดยรัฐลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน

3. ส่งเสริมการนำกระบวนการวิจัย ผลงานวิจัย องค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ

4. เร่งรัดพัฒนาระบบวิจัยของประเทศให้เข้มแข็ง เป็นเอกภาพ และยั่งยืน รวมถึงสร้างระบบนิเวศการวิจัยที่เหมาะสม

5. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ

6. เพิ่มจำนวนและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

7. พัฒนาความร่วมมือของเครือข่ายวิจัยในประเทศและระหว่างประเทศ

การวิจัยตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาในช่วงแผน ฉบับที่ 12 (2560-2564)

1. การยกระดับศักยภาพการแข่งขันและการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง

2. การพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัยและการปฏิรูประบบเพื่อสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ

3. การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 

4. การรองรับการเชื่อมโยงภูมิภาคและความเป็นเมือง

5. การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

6. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ สนใจส่งข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย ตามรอบปีการศึกษา (3 รอบ : มิ.ย. / ก.ย. / ม.ค.)

ในเดือนมิถุนายน เดือนกันยายน และเดือนมกราคม โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่                                 

rri.rsu.ac.th เลือก ดาวน์โหลดไฟล์ เลือกทุนวิจัย

- ดาวน์โหลด ประกาศ มรส. ว่าด้วยทุน

*****************************************************************************************************************************

- ทุนภายนอก

ระเบียบมหาวิทยาลัยรังสิต

ว่าด้วย

ทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก พ.ศ.2548

---------------------------

 

เพื่อให้การบริหารการเงินเกี่ยวกับงานวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้อง เกิดความคล่องตัวและจูงใจให้มีการวิจัยเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการยิ่งขึ้น  สมควรมีระเบียบว่าด้วยทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกเพื่อถือปฏิบัติต่อไป  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 โดยมติสภามหาวิทยาลัยรังสิต ในการประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 จึงกำหนดระเบียบมหาวิทยาลัยรังสิต ว่าด้วย ทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกไว้ดังต่อไปนี้

              ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบมหาวิทยาลัยรังสิตว่าด้วยทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก พ.ศ.2548”

             ข้อ 2 ให้ใช้ระเบียบนี้นับแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

             ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือเกณฑ์อื่นใดที่มีข้อความขัดหรือแย้งกับกำหนดแห่งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

             ข้อ 4 ในระเบียบนี้

                  “ทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก” หมายถึง เงินที่ได้มาจากแหล่งเงินภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศและต่าง 

ประเทศ เพื่อใช้จ่ายในการวิจัย

                  “หน่วยงาน” หมายถึง คณะ วิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน ศูนย์ แผนกอิสระ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นใน

 มหาวิทยาลัย

              ข้อ 5 วิธีการบริหารการเงินและโครงการวิจัยของแต่ละโครงการให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่เจ้าของทุนกำหนด ในกรณีที่เจ้าของทุนไม่ได้กำหนดให้สถาบันวิจัยเป็นผู้จัดทำหลักเกณฑ์และจัดเป็นประกาศ ของมหาวิทยาลัย

              ข้อ 6 ให้ผู้รับผิดชอบโครงการตามประกาศจัดทำรายงานการรับจ่ายทุนอุดหนุนการวิจัยเสนออธิการบดีทุกสิ้นปีงบประมาณ และ/หรือเมื่อสิ้นสุดโครงการภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันปิดบัญชี

              ข้อ 7 ให้หน่วยตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัย แผนกการเงินหรือคณะกรรมการการเงินของหน่วยงานหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เป็นผู้รับรองรายงานการจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย ตามข้อ 6

 

ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน 2548

พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์

นายกสภามหาวิทยาลัย