ทุนวิจัยภายใน

ทำเนียบงานวิจัย /ทุนวิจัยภายใน / งานวิจัยสมบูรณ์ / บทคัดย่อผลงานวิจัยประจำปีการศึกษา 2563


สถานะ : เสร็จสมบรูณ์
จัดทำโดย : ผศ.อาทิตยา สุวรรณ์ (นางสาว)
ชื่อภาษาไทย : ผลของการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดต่อความสามารถด้านการรู้คิดปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
ชื่อภาษาอังกฤษ : ผลของการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดต่อความสามารถด้านการรู้คิดปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
คณะ : คณะพยาบาลศาสตร์
ปีที่ขอทุน : 2563
รหัสเอกสาร : 20/2563

บทคัดย่อ ภาษาไทย

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดต่อความสามารถด้านการรู้คิด ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมโดยนำแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อยถึงปานกลางที่พักอาศัยในศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุดวงใจเนอร์สซิ่งโฮม กรุงเทพมหานคร คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (Mini-Mental State Examination Thai 2002: MMSE-Thai 2002) และมีปัญหาพฤติกรรมอารมณ์ และจิตใจ การประเมินโดยใช้แบบประเมินอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อมฉบับภาษาไทย (Neuropsychiatric inventory questionnaires: NPI-Q) ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ระยะเวลา 3 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 12 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการรู้คิดของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดสูงมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) คะแนนเฉลี่ยปัญหาพฤติกรรมอารมณ์ และจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมหลังใช้โปรแกรมการส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดลดลงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดสามารถกระตุ้นการรู้คิด และลดปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ ดังนั้นสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ร่วมกับกิจกรรมการพยาบาลโดนเน้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในงานวิจัย รวมทั้งควรมีการดำเนินโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง และติดตามผลการศึกษาเป็นระยะ ๆ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ
The study was one-group quasi-experimental research with a pre-test and a post-test. The purpose of this research was to study the effects of cognitive improvement by using music therapy program on cognitive abilities, behavioral, and psychological symptoms in dementia elderly. The concept of participatory action research was applied in this research. The participants, recruited via convenience sampling, were 9 older adults living in the elderly care and rehabilitation center duangjai nursing home. The data were collected by using Mini-Mental State Examination Thai 2002 (MMSE-Thai 2002) and Neuropsychiatric inventory questionnaires (NPI-Q). Music Therapy activities were held
4 times a week over a period of 3 weeks for a total of 12 session. The data were analysed using descriptive statistics and paired t-test.
The study found that dementia elderlys’ average cognition score was higher than that before the intervention (p < .001) and the average score of behavioral, and psychological symptoms were reduce less than that before the intervention (p < .01).
The study indicates that program result for cognitive improvement by using music therapy can improve cognitive abilities and reduce behavioral, and psychological symptoms among dementia elderly. Therefore, the program can be applied in conjunction with nursing activities, emphasizing all relevant parties to participate in the research. The program should be continued and follow up the study results periodically.
คำสำคัญ : ความสามารถด้านการรู้คิด ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจ ภาวะสมองเสื่อม ผู้สูงอายุ