เพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 43 แห่ง พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 จึงให้แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการสถาบันวิจัย ตาม ร่าง คำสั่งมหาวิทยาลัยรังสิต เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัย ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัย
อำนาจหน้าที่:
1) ให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติว่าด้วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
2) ให้ความเห็นชอบนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยที่สถาบันวิจัยเสนอ
3) ให้ความเห็นชอบระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับการสนับสนุนโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย
4) กำกับดูแลการบริหารงานงบประมาณของสถาบันวิจัย
5) ให้ความเห็นชอบทุนอุดหนุนโครงการวิจัยที่เสนอโดยบุคลากรของมหาวิทยาลัย
6) ร่วมพิจารณาอนุมัติทุนหลังปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย
7) ดำเนินงานอื่นใดที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัย
2. คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
อำนาจหน้าที่
1) คณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
2) พิจารณาโครงการวิจัยที่เสนอให้พิจารณา ทั้งทางด้านระเบียบวิธีวิจัย ด้านจริยธรรมรวมทั้ง ประสบการณ์ผู้วิจัยใน กระบวนการดำเนินการวิจัย
3) ทบทวนรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับความเสี่ยงต่อผู้มีส่วนร่วม ในการวิจัยไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี นอกจากนี้คณะกรรมการ มีสิทธิเข้าไปสังเกตกระบวนการ ให้ความยินยอมของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย กระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์และสวัสดิภาพของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
4) ให้ยุติการดำเนินการโครงการวิจัยชั่วคราว (Suspension) หรือเพิกถอนการอนุมัติ (Withdrawal) หรือยุติ โครงการวิจัยก่อนกำหนด (Termination) ในกรณีที่โครงการวิจัยอาจทำให้ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย มีความเสี่ยง มากกว่าที่คาดไว้ หรือการไม่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างร้ายแรง และ/หรือ อย่างต่อเนื่อง หรือการไม่ปฏิบัติ ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการ อย่างร้ายแรง และ/หรือ อย่างต่อเนื่อง ในการตัดสินดังกล่าวต้องทำเป็นมติ ของการประชุมคณะกรรมการฯ ที่มีองค์ประชุมครบ และมีการบันทึกผล การพิจารณาเป็นหลักฐาน
5) จำกัดหรือระงับการดำเนินโครงการวิจัยบางส่วน (Restriction) ในกรณีที่ผู้วิจัยไม่ปฏิบัติตามหลักการจริยธรรม หรือข้อกำหนดของคณะกรรมการ ต่อเมื่อผู้วิจัยได้ปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อได้
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในคน
3. คณะกรรมการกำกับและดูแลให้ผู้ใช้สัตว์ปฏิบัติตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
อำนาจหน้าที่:
1) คณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 1 ปี
2) กำหนดรายละเอียด แนวทางปฏิบัติในการใช้ และการเลี้ยงสัตว์เพื่องานวิจัย ให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์ฯ
3) พิจารณาและตรวจสอบโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์ในงานวิจัย งานทดสอบ งานสอน และงานผลิตชีววัตถุ
4) ติดตามกำกับดูแลการใช้สัตว์ให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติต่อสัตว์โดยถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณการใช้สัตว์
5) จัดให้มีการสอน การอบรม การประชุมทางวิชาการ เพื่อให้และเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการใช้สัตว์แก่ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้สัตว์ และพนักงานเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้สามารถดำเนินการตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์ฯ ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
4. คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ
อำนาจหน้าที่:
1) คณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 1 ปี
2) ประเมินและตรวจสอบโครงการวิจัยต่างๆและให้ข้อแนะนำแก่นักวิจัย
3) พิจารณาระดับการป้องกันและวิธีการดำเนินงานสำหรับการวิจัยและทดลองทุกชนิดที่อยู่ในประเภท 2 และ 3 ตามแนวทางปฏิบัติ Technical Biosafety Committee (TBC) ของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
4) ส่งผลการพิจารณางานที่อยู่ในประเภท 2 เพื่อให้ TBC รับทราบและประเภท 3 เพื่อให้ TBC พิจารณา
5) จัดให้มีการตรวจสอบงานที่กำลังดำเนินอยู่และให้ข้อแนะนำกับนักวิจัยเป็นระยะ ๆ
6) จัดให้มีการตรวจสอบมาตรฐานของสถานที่ทดลองและการหลุดรอดของ GMO จากสถานที่ทดลองสู่สิ่งแวดล้อม
7) รับผิดชอบการออกกฎระเบียบปฏิบัติและตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานความปลอดภัยทางชีวภาพในสถาบัน